เอลนีโญลานีญา
#CLIMATE ไม่ต้องมีใครมาบอกก็สามารถสัมผัสได้ทั่วไทยแล้วว่าปีนี้ร้อนมากจริง ๆ และสภาวะภัยแล้งในปี 2567 นี้นั้นก็แตกต่างจากหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา นั่นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นไปทั่วโลก ทำให้เอลนีโญรุนแรงขึ้น ร้อนและแล้งมากกว่าปีก่อน แต่อีกไม่นาน ก็จะเกิดปรากฎการณ์ “ลานีญา” ขึ้น ทำให้อากาศเย็น และเกิดฝนตกมากขึ้นในประเทศไทย คาดว่าจะมาช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
.
เอลนีโญและลานีญาเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัดของลมสินค้า (Trades wind) ที่พัดจากทิศตะวันออกไปตะวันตกเสมอ และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำอุ่น ในเอลนีโญจะลมพัดอ่อนหรือพัดย้อนกลับ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปทางทิศตะวันออก - ดังนั้นทิศตะวันตกจึงจะมีน้ำที่เย็นมากขึ้น และลานีญาจะมีลมสินค้าที่พัดแรงขึ้น ทำให้น้ำอุ่นไปกองที่ทิศตะวันตก โดยปริมาณน้ำอุ่นน้ำเย็นเหล่านี้ก็ส่งผลต่อไปที่อุณหภูมิของพื้นที่บริเวณนั้นด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วเอลนีโญและลานีญาจะเกิดขึ้นสลับกันเป็นรอบปกติ
.
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดภาวะโลกรวนที่อุณหภูมิในหลายพื้นที่ได้สูงขึ้น ทำให้กระแสความกดอากาศเปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดการพัดของลมสินค้าที่ผิดแปลกไปจากเดิม ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบของลานีญาต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2020 ที่จะส่งผลให้พื้นที่ประเทศไทยเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง แต่ในปีนี้เอลนีโญ (El Niño) กลับมาสู่ประเทศไทย โดยจะส่งผลตรงข้ามให้เกิดความร้อน แล้งที่มากกว่าปกติ
.
ลานีญาในปีนี้จะเป็นตัวการหนึ่งในตัวการที่ทำให้ฝนตกแรงมากขึ้นและครอบคลุมหลายภูมิภาคมากขึ้น กรมอุตุคาดว่าฤดูฝนจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม และปริมาณฝนตกทั้งปีจะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยปกติและใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
.
ซึ่งนี่คือในกรณีปกติ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ในกรณีที่เลวร้ายขึ้นที่ค่าตัวชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรพุ่งขึ้นสูงไปมากกว่านี้ อาจทำให้กว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ล่วงเลยไปถึงเดือนที่ 9 หรือช่วงครึ่งทางของครึ่งปีหลัง และเข้าสู่ลานีญาในช่วงฤดูหนาวของปีนี้แทน แต่ถ้ากรณีที่ความร้อนพุ่งขึ้นสูงที่สุดของค่าตัวชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรในรอบ 74 ปี กว่าที่จะลดอุณหภูมิเข้าสู่สภาวะปกติได้ก็อาจล่วงเลยไปจนถึงเดือนสุดท้ายของปี และเข้าสู่ลานีญาในปีต่อไปแทน
.
ดังนั้น ปีนี้ไทยอาจเจอศึกหนักเอลนีโญในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พื้นที่นอกเขตชลประทานไม่ค่อยสู้ดีนัก เนื่องจากอุณหภูมิและคลื่นความร้อนที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก อัตราการระเหยของน้ำมีความรวดเร็วมากขึ้น เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง มีปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้เราเข้ามาสู่สภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบไปถึงทั้งการอุปโภคบริโภค ระบบนิเวศ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มพืชที่มีความอ่อนไหวต่อความแล้งและปริมาณน้ำที่ลดน้อยลงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น ต้นข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ร่วมไปถึง ข้าวโพด และผลไม้ยืนต้น ขยายภาพจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไปยังผลกระทบภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจ
.
และอาจจะตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ที่จะเจอกับภาวะลานีญา ทำให้ปริมาณฝนเกิดขึ้นมากกว่าปกติ และเมื่อบวกกับพายุหมุนเขตร้อนที่คาดว่าจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมของทุกปี ไทยเราก็จะเจอกับฝนที่ตกหนักมากขึ้น และอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในหลายพื้นที่
.
ในภาพของประเทศนั้นก็คงต้องมองเข้าไปในนโยบายการรับมือของรัฐบาลที่เตรียมไว้ต่อภาคธุรกิจกรือประชาชนที่จะโดนผลกระทบหนัก เช่นภาคการเกษตรในเรื่องการลดลงของผลผลิต หรือภาคสาธารณะสุขในการรับมือกับฮีตสโตรค หรืออย่างที่บอกว่ากลไกลเอลนีโญและลานีญานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่การที่มนุษย์ไปทำให้โลกร้อนขึ้น สภาพภูมิเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้ว ก็ทำให้กลไกลธรรมชาตินี้เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องคิดไปถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาวในการลดโลกร้อน ไม่ให้เกิดการแปรปรวนของกระแสลมสินค้าให้มาซ้ำเติมความร้อนของเราไปอีก